วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สายน้ำกับชีวิต

บทความ
เรื่อง “สายน้ำกับชีวิต”


โดยนางสาวแพรวพรรณ กรมโคตร
รหํสนิสิต 52010119040
 น้ำ ในความหมายของการมีชีวิตของคนนั้น น้ำ คือ สิ่งให้คุณค่าและประโยชน์อย่างยิ่งร่างกายของคนเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ 70% ถ้าคนเราขาดน้ำติดต่อกันเป็นเวลานานก็อาจวายชีวาได้ น้ำ คือ สิ่งสำคัญต่อคนเรา  แต่ก็แปลกอยู่เหมือนกันที่ปัจจุบัน คนเราอออกอาการรังเกียจน้ำ ทั้งๆ ที่อดีต เราต่างอยู่กับน้ำมาแต่โบราณกาล ทุกครั้งที่ไทยรบกับพม่าตัว (ตามประวัติศาสตร์ชาตินิยมว่าไว้) เราอาศัยน้ำนี่ล่ะ เป็นยุทโธปกรณ์ในการรบ เพราะประเทศเรา มีน้ำเป็นเส้นทางหลัก ว่ากันว่าไทยรบพม่าเพียง 8 เดือน ก็รู้ผล ถ้า 8 เดือน ยันพม่าไว้ได้ อีก 4 เดือนที่เหลือ ก็ชนะ เพราะมีน้ำเป็นตัวกั้นไม่ให้ข้าศึกรุกราน คนไทยสมัยก่อนเองก็หาอยู่หากินกับน้ำ คงเคยได้ยินกันนะครับ วลีที่ว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว ทุกครั้งที่ถึงหน้าน้ำ (หลังฤดูฝน) น้ำก็จะไหลมาท่วมนาข้าว ซึ่งมาหลังจากฤดูเก็บเกี่ยวพอดี มีข้าวกินแล้ว น้ำท่วมนาก็ไม่เป็นไร ไม่เสียหาย แถมยังได้กำไรอีกต่างหาก เพราะน้ำที่เอ่อมาจากแม่น้ำเข้ามาท่วมนาข้าวนั้น อุดมไปด้วยปลาน้ำจดหลากหลายชนิดให้จับกันจนอิ่มหมีพีมัน ครั้นพอน้ำไหลผ่านนาข้าว ลงสู่ลำคลองไปแล้ว ตะกอนต่างๆ ที่พัดมากับน้ำก็จะตกลงที่นาข้าวเป็นปุ๋ยชั้นดีให้ฤดูกาลหน้าเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างไม่ต้องพึ่งสารเคมีบำรุงใดๆ โบราณกาล จะพบว่า คนมีประเพณีเกี่ยวกับน้ำมากมาย และทุกคนต่างออกมาร่ายรำอย่างสนุกสนาน หากสังเกตดีๆ จะพบว่าขบวนแห่ต่างๆ มักจะใช้เรือเป็นสัญลักษณ์มาโดยตลอด เรียกได้ว่า เราอยู่กับน้ำมาอย่างฉันมิตรโดยตลอด
ตารางเปรียบเทียบปริมาณน้ำฝนรายภาควันที่26-27ตุลาคม2553
ภาคเหนือ                          ที่อำเภอแม่สอด              จังหวัดตาก          93.8มม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ที่อำเภอเมือง                  จังหวัดหนองคาย  4.2มม.
ภาคตะวันออก                   ที่อำเภอคลองใหญ่         จังหวัดตราด         34.1มม.
ภาคใต้                                ที่อำเภอหาดใหญ่          จังหวัดสงขลา       136.1มม.
ถ้าเปรียบเทียบแล้วจะเห็นได้ว่าภาคใต้มีปริมาณน้ำฝนตกมากที่สุดถึง 51% รองลงมาคือภาคเหนือ 35% ตามด้วยภาคอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสองขั้ว ปัจจุบันความต้องการน้ำมีมากกว่าน้ำจืดที่มีอยู่ในหลายส่วนของโลก และในอีกหลายพื้นที่ในโลกกำลังจะประสบปัญหาความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานของน้ำในอนาคตอันไม่ไกลนัก กรอบปฏิบัติเพื่อการจัดสรรทรัพยากรน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำ (ในพื้นที่ที่มีกรอบปฏิบัติแล้ว) เรียกว่า "สิทธิการใช้น้ำ"
สถิติผลของการดำเนินงานของการประปาส่วนภูมิภาค ระหว่างปี 2547-2550
จำนวนผู้ใช้น้ำเมื่อสิ้นปี 2547(2,124,103.00) 2548(2,306,962.00) 2549(2,479,776.00)
2550(2,628,470.00)
ตารางเปรียบเทียบสถิติผลของการดำเนินงานของการประปาส่วนภูมิภาค ระหว่างปี 2547-2550
จากตารางจะเห็นได้ว่าสถิติการใช้น้ำประปาส่วนภูมิภาคมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
       เช่น    การใช้น้ำประปาเพื่อกิจการสาธารณะ(Public use)
การใช้น้ำในประเภทนี้ ได้แก่ การใช้น้ำเพื่อการล้างถนน รดน้ำสวนดอกไม้ และสวนสาธารณะ ก๊อกน้ำสาธารณะ ใช้เพื่อเป็นน้ำพุ  การป้องกันอัคคีภัย การล้างท่อน้ำ การล้างท่อน้ำโสโครก เป็นต้น  อัตราการใช้น้ำประปาสำหรับกิจการสาธารณะนี้ไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะและขนาดของชุมชน ชนิดและจำนวนกิจกรรม ด้านสาธารณประโยชน์ที่มีอยู่ในชุมชนนั้น โดยทั่วไปมีอัตราการใช้น้ำประปาเฉลี่ยมีค่าประมาณ 40 80 ลิตรต่อคนต่อวัน
             น้ำ ในที่นี้หมายถึงน้ำที่เป็นส่วนประกอบของอาหาร เช่นน้ำแกงจืด น้ำหวาน และน้ำที่ใช้ดื่มรวมกัน คนปกติมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในช่วงวันละ 400-3,000 มิลลิลิตรหรือโดยเฉลี่ยวันละประมาณ2,000 มิลลิลิตร ปัสสาวะของคนปกติจะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณน้ำที่ดื่ม ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคไตอักเสบหรือโรคไตวายเรื้อรังที่ยังไม่รุนแรงมากผู้ป่วยอาจมีปริมาณปัสสาวะปกติหรือมากกว่าปกติเล็กน้อยก็ได้ ผู้ป่วยระยะนี้จะไม่มีอาการบวม จึงไม่จำเป็นต้องจำกัดน้ำ โดยทั่วไปสามารถบริโภคน้ำได้ประมาณ 2 ลิตรต่อวัน แต่ถ้าผู้ป่วยมีความรุนแรงของโรคไตมากขึ้น (ค่าครีอะตินีนในเลือดตั้งแต่ 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป)หรือผู้ป่วยที่มีอาการบวมตามตัวแล้วไตไม่สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณปัสสาวะให้มากน้อยตามปริมาณน้ำดื่มได้เช่นคนปกติ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะหลังนี้จำเป็นต้องปรับน้ำดื่มให้มากน้อยตามปริมาณปัสสาวะที่ออกได้จริงแทน
ขอเน้นว่าผู้ป่วยที่มีไตวายรุนแรงจะมีปริมาณปัสสาวะไม่สัมพันธ์กับจำนวนน้ำที่ดื่มในแต่ละวัน ผู้ป่วยโรคไตแต่ละรายจึงต้องปรับปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และมีข้อจำกัดในการดื่มน้ำไม่เท่ากันขอให้ยึดหลักง่ายๆ ว่า ถ้ายังปัสสาวะได้มากก็ดื่มน้ำได้มากถ้าปัสสาวะได้น้อยก็ต้องจำกัดน้ำดื่มลงมิฉะนั้นอาจเกิดอาการบวมอย่างรุนแรง หรือเกิดอาการน้ำท่วมปอดได้
                การดูว่ามีปัสสาวะมากหรือน้อยต้องใช้วิธีวัดปริมาตรปัสสาวะ 24 ชั่วโมง แล้วปรับปริมาณน้ำดื่มให้มากน้อยตามกันไป ไม่ควรใช้วิธีนับจำนวนครั้งของการถ่ายปัสสาวะ หรือคะเนเอาเองจากเวลาที่ใช้ถ่ายปัสสาวะ เช่น ถ้าผู้ป่วยบางรายถ่ายปัสสาวะได้รวม 1,000 มิลลิลิตรต่อวัน ก็อนุมานว่าผู้ป่วยควรบริโภคน้ำได้ไม่เกิน 1,000มิลลิลิตรต่อวัน ด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับยาขับปัสสาวะกระตุ้นให้มีปัสสาวะเพิ่มขึ้น ก็อาจดื่มน้ำได้เพิ่มขึ้น แต่ต้องไม่เกินกว่าหลักเกณฑ์ที่กล่าวข้างต้น ผู้ป่วยบางรายถ้ารับประทานยาขับปัสสาวะแล้ว ไม่ได้ปัสสาวะเพิ่มขึ้น ก็ไม่ควรทานยาขับปัสสาวะต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เพราะอาจมีผลเสียต่อร่างกายได้ ควรประเมินหาปริมาณน้ำที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายได้  โดยดูจาการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวถ้าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วภายใน ช่วงเวลาไม่กี่วัน แสดงว่าผู้ป่วยบริโภคน้ำมากไปหรือน้อยไปตามลำดับ ควรค่อยๆปรับปริมาณน้ำให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม โดยพิจารณาการควบุมน้ำ
กับปริมาณปัสสาวะที่ขับออกและค่าน้ำหนักตัวในแต่ละวัน
ตารางเปรียบเทียบการดื่มน้ำของคนปกติและคนป่วยในปริมาณต่อวัน คนปกติ2,000มล.  คนป่วย1,000มล.


จากกราฟจะเห็นได้ว่าการดื่มน้ำของคนปกติจะดื่มได้มากกว่าคนป่วยเพราะคนปกติจะปัสสาวะเป็นปกติส่วนคนป่วยจะปัสสาวะไม่เป็นปกติแล้วแต่โรคและอาการที่เป็น
"ทรัพยากรที่ดิน" เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในการดำรงชีพของมนุษย์ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่ต้องใช้ที่ดินเป็นปัจจัยหลักการเพิ่มขึ้นของประชากร ประกอบกับความต้องการใช้ที่ดิน เพื่อใช้ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจสาขาอื่นก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เช่น การพัฒนาเมือง เขตอุตสาหกรรม เป็นต้น ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้ประโยชน์ที่ดิน คือ การนำพื้นที่เหมาะสมทางการเกษตรมาใช้ในการขยายเมือง การนำพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเกษตรมาใช้ในการเกษตร การใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทำให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเกษตรกร
จากกราฟจะเห็นได้ว้าภาคใต้ดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมมีปัญหามากกว่าภาคอื่นๆ
ชุมชนและประเทศชาติ ปัญหาของทรัพยากรดินและการใช้ที่ดินจึงแยกได้ 2 ประการคือ ปัญหาความเสื่อมโทรมของดินและปัญหาการใช้ที่ดิน
สถานการณ์ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน 
            ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน มีสาเหตุทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและเกิดจากการใช้ที่ดินที่ไม่ถูกต้อง
ตามหลักวิชาการ ตัวอย่างของปัญหา เช่น การชะล้างพังทลายของดิน ดินขาดอินทรีย์ และปัญหาที่เกิดจากสภาพ
ธรรมชาติของดินร่วมกับการกระทำของมนุษย์ เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินอินทรีย์ (พรุ) ดินทรายจัด และดินตื้นพื้น
ที่ดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมของประเทศไทย ได้แก่ การชะล้างพังทลายของดิน 108.87
ล้านไร่ พื้นที่ที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดินมากที่สุดคือ ภาคเหนือ ดินขาดอินทรียวัตถุ 98.70 ล้านไร่ ปัญหา
ดินขาดอินทรียวัตถุประมาณร้อยละ 77 อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทาง
ด้านเกษตรกรรม 209.84 ล้านไร่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนดินเค็มดินกรดและ
ดินค่อนข้างเป็นทราย อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถูกต้องตามศักยภาพ คิด
เป็นพื้นที่ 35.60 ล้านไร่
จากกราฟจะเห็นว่าดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมมากที่สุดคือภาคใต้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น