วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บทความ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม





มหาวิทยาลัยได้มีพัฒนาการมาตามลำดับโดยอาศัยเงื่อนไขของเวลาในการสร้างความพร้อมต่างๆ กระทั่งสามารถดำเนินการแยกเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศสำเร็จภายใต้ชื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 111 ตอนที่ 54 ก นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของประเทศไทย สำหรับแนวคิดในการแยกตัวเป็นเอกเทศนั้นได้เริ่มปรากฏขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2527 โดย ดร.ถวิล ลดาวัลย์รองอธิการบดีเวลานั้นได้มีแนวความคิดที่จะรวมสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาหลักๆของจังหวัดมหาสารคามเข้าเป็นมหาวิทยาลัยเดียวกัน แต่แนวคิดดังกล่าวได้ติดขัดปัญหาบางประการจึงไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เช่น ปัญหาของต้นสังกัดเดิมของแต่ละสถาบัน เป็นต้น ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2531 รองศาสตราจารย์ ดร. วีระ บุญยกาญจนะเป็นรองอธิการบดีจึงได้มีการเสนอให้แยกออกจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒอีกครั้ง โดยให้ลักษณะเป็นสถาบันในนามของสถาบันบัณฑิตศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท แต่ให้มีสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย หากแต่ไม่อาจดำเนินต่อไปให้สัมฤทธิ์ผลได้เช่นกัน
กระทั่งในปี พ.ศ. 2535 เมื่อรองศาสตราจารย์ ดร. จรูญ คูณมีเป็นรองอธิการบดี จึงได้มีสืบสานแนวคิดที่จะแยกตัวออกอีกครั้ง และเริ่มปรากฏผลชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ประกอบกับในช่วงเวลานั้น นายสุเทพ อัตถากร ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งโดยส่วนตัวท่านเองได้ให้สนใจและความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ในการสนับสนุนแนวคิดที่จะให้มีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นในจังหวัดมหาสารคาม การดำเนินงานจึงได้เริ่มตั้งแต่การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคามและคณะกรรมการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 จากนั้นจึงได้ดำเนินงานมาตามขั้นตอนจนสามารถยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยได้สำเร็จดังที่กล่าวข้างต้นในช่วงรองศาสตราจารย์ ดร. บุญชม ศรีสะอาด เป็นรองอธิการบดี ซึ่งได้สืบสานแนวคิดและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องโดยได้รับความร่วมมืออย่างมุ่งมั่นและจริงจังจากทุกท่านทุกฝ่าย ทั้งบุคคลภายในและภายนอกในสายงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเป็นอันมาก  ในระหว่างที่มีการดำเนินการเพื่อยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศนั้นได้มีการทบทวนเรื่องชื่อของมหาวิทยาลัยเพื่อหาความเหมาะสมและเห็นพ้องต้องกันทุกฝ่าย โดยการดำเนินการสำรวจประชามติให้เป็นเอกฉันท์ ซึ่งชื่อที่เสนอในครั้งนั้นมีความหลากหลายของที่มาและแนวคิด ตั้งแต่ชื่อมหาวิทยาลัยอีสาน มหาวิทยาลัยภัทรินธร มหาวิทยาลัยศรีเจริญราชเดช มหาวิทยาลัยศรีมหาชัย มหาวิทยาลัยศรีมหาสารคาม จนกระทั่งได้มาเห็นชอบพร้อมกันต่อชื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคามในเบื้องท้ายดังปรากฏในปัจจุบัน
ภายหลังได้มีการขยายพื้นที่มายัง "ป่าโคกหนองไผ่" ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม บนเนื้อที่ประมาณ 1,300 ขณะนั้นของรองศาสตราจารย์ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคามคนแรก (พ.ศ. 2538-2546) และได้ดำเนินการสร้างอาคารต่างๆตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ภายหลังจึงได้ย้ายศูนย์กลางบริหารงานมา ณ ที่ทำการแห่งใหม่ในปีการศึกษา 2542 อีกทั้งยังได้มีการเปิดสาขาวิชาและคณะใหม่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เพื่อเปิดบริการทางการศึกษาให้มีหลากหลายมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้เปิดสอนหลักสูตรและสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย คณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยี คณะการบัญชีและการจัดการ คณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์- ผังเมือง-นฤมิตศิลป์ และโครงการจัดตั้งคณะใหม่อีกทะยอยเปิดในแต่ละปีการศึกษา คือ โครงการจัดตั้งคณะวิทยาการสารสนเทศ โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะการโรงแรมและการท่องเที่ยว และ คณะแพทย์ศาสตร์ เป็นต้น
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้เปิดสอนระดับประถมและมัธยมศึกษาใน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยเปิดสอนในปีการศึกษา 2540 เป็นปีการศึกษาแรกและยังได้ขยายการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโทไปยังวิทยาเขตนครพนมและศูนย์พัฒนาการศึกษาอุดรธานี โดยใช้สอน ระบบทางไกลผ่านดาวเทียม ในเวลานี้ทางมหาวิทยาลัยยังได้มีโครงการที่กำลังดำเนินการและจะดำเนินการอีกมาก ทั้งนี้เพื่อผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชนท้องถิ่น ภูมิภาค ประเทศชาติและองค์รวมเบื้องปลายต่อไป



Mahasarakham
ตราโรจนากร
“ พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว
(ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน) ”


  สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



                                



ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม รหัสไปรษณีย์ 44150
โทรศัพท์ 0-4375-4320-40 ต่อ 2491 โทรสาร 0-4375-4358
E-mail : 
library@msu.ac.th



มหาวิทยาลัยมหาสารคาม :        มหาวิทยาลัยมหาสารคาม :   มหาวิทยาลัยมหาสารคาม :

                วิวทิวทัศน์ที่สวยงามในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม :    มหาวิทยาลัยมหาสารคาม :   มหาวิทยาลัยมหาสารคาม :


  แผนที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

    สระว่ายน้ำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม


                      

กิจกรรมในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม


                       
วันแห่งความสำเร็จ


วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

การทำ blog ผ่านมือถือ

เคยไหม? รถติด รอแฟน นัดเพื่อน ฯลฯ นั่งว่างๆ ไม่รู้จะทำอะไร
อย่าปล่อยเวลาไปเปล่าประโยชน์อีกเลย.. มานั่งอ่านบล็อกกันเถอะ!!

วันนี้ exteen blog มีบริการเสริมพิเศษให้กับสมาชิกเพื่อช่วยในการอ่านและเขียนบล็อกบนโทรศัพท์มือถือแล้ว ง่ายๆ ต้องการเพียงแค่โทรศัพท์ที่รองรับการเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ต (WAP 2.0)

วิธีการก็คือ ใช้โทรศัพท์นั้นเข้าไปที่ http://m.exteen.com/ โดย exteen mobile ในรุ่นนี้ สามารถล็อกอินได้ด้วย!! (แต่ถึงจะไม่ได้ล็อกอิน ก็ยังสามารถอ่านบล็อกได้ปกติครับ)



ซึ่งเมื่อล็อกอินแล้ว ก็จะปรากฏเมนูสำหรับการจัดการบล็อก รวมถึงการเข้าดูรายการ My Favorite (ทั้งแบบที่มีการอัพเดท และทั้งหมด) เพิ่มเติมจากรายการ Recently Updated และ Hot Posts
ถ้าจะเข้าบล็อกใครก็ใส่ชื่อบล็อกในช่องแล้วก็กด Go ได้เลย

ส่วนตัวเลขที่เห็นเป็นสีเขียวๆ นั้น คือ Shortcut ครับ คือสามารถกดที่ตัวเลขตามที่ระบุบนโทรศัพท์ได้เลย ไม่ต้องเลื่อนลงมาที่ลิงค์ก่อน (ใช้ได้ในเครื่องบางรุ่น)

Shortcut ที่มีให้ใช้ตลอดคือ
0 กลับหน้าแรก
* ไปที่ด้านบนของหน้า
# ไปที่ด้านล่างของหน้า

อื่นๆ เช่น 4 สำหรับไปหน้าที่แล้ว และ 6 สำหรับหน้าต่อไป

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สายน้ำกับชีวิต

บทความ
เรื่อง “สายน้ำกับชีวิต”


โดยนางสาวแพรวพรรณ กรมโคตร
รหํสนิสิต 52010119040
 น้ำ ในความหมายของการมีชีวิตของคนนั้น น้ำ คือ สิ่งให้คุณค่าและประโยชน์อย่างยิ่งร่างกายของคนเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ 70% ถ้าคนเราขาดน้ำติดต่อกันเป็นเวลานานก็อาจวายชีวาได้ น้ำ คือ สิ่งสำคัญต่อคนเรา  แต่ก็แปลกอยู่เหมือนกันที่ปัจจุบัน คนเราอออกอาการรังเกียจน้ำ ทั้งๆ ที่อดีต เราต่างอยู่กับน้ำมาแต่โบราณกาล ทุกครั้งที่ไทยรบกับพม่าตัว (ตามประวัติศาสตร์ชาตินิยมว่าไว้) เราอาศัยน้ำนี่ล่ะ เป็นยุทโธปกรณ์ในการรบ เพราะประเทศเรา มีน้ำเป็นเส้นทางหลัก ว่ากันว่าไทยรบพม่าเพียง 8 เดือน ก็รู้ผล ถ้า 8 เดือน ยันพม่าไว้ได้ อีก 4 เดือนที่เหลือ ก็ชนะ เพราะมีน้ำเป็นตัวกั้นไม่ให้ข้าศึกรุกราน คนไทยสมัยก่อนเองก็หาอยู่หากินกับน้ำ คงเคยได้ยินกันนะครับ วลีที่ว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว ทุกครั้งที่ถึงหน้าน้ำ (หลังฤดูฝน) น้ำก็จะไหลมาท่วมนาข้าว ซึ่งมาหลังจากฤดูเก็บเกี่ยวพอดี มีข้าวกินแล้ว น้ำท่วมนาก็ไม่เป็นไร ไม่เสียหาย แถมยังได้กำไรอีกต่างหาก เพราะน้ำที่เอ่อมาจากแม่น้ำเข้ามาท่วมนาข้าวนั้น อุดมไปด้วยปลาน้ำจดหลากหลายชนิดให้จับกันจนอิ่มหมีพีมัน ครั้นพอน้ำไหลผ่านนาข้าว ลงสู่ลำคลองไปแล้ว ตะกอนต่างๆ ที่พัดมากับน้ำก็จะตกลงที่นาข้าวเป็นปุ๋ยชั้นดีให้ฤดูกาลหน้าเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างไม่ต้องพึ่งสารเคมีบำรุงใดๆ โบราณกาล จะพบว่า คนมีประเพณีเกี่ยวกับน้ำมากมาย และทุกคนต่างออกมาร่ายรำอย่างสนุกสนาน หากสังเกตดีๆ จะพบว่าขบวนแห่ต่างๆ มักจะใช้เรือเป็นสัญลักษณ์มาโดยตลอด เรียกได้ว่า เราอยู่กับน้ำมาอย่างฉันมิตรโดยตลอด
ตารางเปรียบเทียบปริมาณน้ำฝนรายภาควันที่26-27ตุลาคม2553
ภาคเหนือ                          ที่อำเภอแม่สอด              จังหวัดตาก          93.8มม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ที่อำเภอเมือง                  จังหวัดหนองคาย  4.2มม.
ภาคตะวันออก                   ที่อำเภอคลองใหญ่         จังหวัดตราด         34.1มม.
ภาคใต้                                ที่อำเภอหาดใหญ่          จังหวัดสงขลา       136.1มม.
ถ้าเปรียบเทียบแล้วจะเห็นได้ว่าภาคใต้มีปริมาณน้ำฝนตกมากที่สุดถึง 51% รองลงมาคือภาคเหนือ 35% ตามด้วยภาคอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสองขั้ว ปัจจุบันความต้องการน้ำมีมากกว่าน้ำจืดที่มีอยู่ในหลายส่วนของโลก และในอีกหลายพื้นที่ในโลกกำลังจะประสบปัญหาความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานของน้ำในอนาคตอันไม่ไกลนัก กรอบปฏิบัติเพื่อการจัดสรรทรัพยากรน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำ (ในพื้นที่ที่มีกรอบปฏิบัติแล้ว) เรียกว่า "สิทธิการใช้น้ำ"
สถิติผลของการดำเนินงานของการประปาส่วนภูมิภาค ระหว่างปี 2547-2550
จำนวนผู้ใช้น้ำเมื่อสิ้นปี 2547(2,124,103.00) 2548(2,306,962.00) 2549(2,479,776.00)
2550(2,628,470.00)
ตารางเปรียบเทียบสถิติผลของการดำเนินงานของการประปาส่วนภูมิภาค ระหว่างปี 2547-2550
จากตารางจะเห็นได้ว่าสถิติการใช้น้ำประปาส่วนภูมิภาคมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
       เช่น    การใช้น้ำประปาเพื่อกิจการสาธารณะ(Public use)
การใช้น้ำในประเภทนี้ ได้แก่ การใช้น้ำเพื่อการล้างถนน รดน้ำสวนดอกไม้ และสวนสาธารณะ ก๊อกน้ำสาธารณะ ใช้เพื่อเป็นน้ำพุ  การป้องกันอัคคีภัย การล้างท่อน้ำ การล้างท่อน้ำโสโครก เป็นต้น  อัตราการใช้น้ำประปาสำหรับกิจการสาธารณะนี้ไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะและขนาดของชุมชน ชนิดและจำนวนกิจกรรม ด้านสาธารณประโยชน์ที่มีอยู่ในชุมชนนั้น โดยทั่วไปมีอัตราการใช้น้ำประปาเฉลี่ยมีค่าประมาณ 40 80 ลิตรต่อคนต่อวัน
             น้ำ ในที่นี้หมายถึงน้ำที่เป็นส่วนประกอบของอาหาร เช่นน้ำแกงจืด น้ำหวาน และน้ำที่ใช้ดื่มรวมกัน คนปกติมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในช่วงวันละ 400-3,000 มิลลิลิตรหรือโดยเฉลี่ยวันละประมาณ2,000 มิลลิลิตร ปัสสาวะของคนปกติจะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณน้ำที่ดื่ม ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคไตอักเสบหรือโรคไตวายเรื้อรังที่ยังไม่รุนแรงมากผู้ป่วยอาจมีปริมาณปัสสาวะปกติหรือมากกว่าปกติเล็กน้อยก็ได้ ผู้ป่วยระยะนี้จะไม่มีอาการบวม จึงไม่จำเป็นต้องจำกัดน้ำ โดยทั่วไปสามารถบริโภคน้ำได้ประมาณ 2 ลิตรต่อวัน แต่ถ้าผู้ป่วยมีความรุนแรงของโรคไตมากขึ้น (ค่าครีอะตินีนในเลือดตั้งแต่ 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป)หรือผู้ป่วยที่มีอาการบวมตามตัวแล้วไตไม่สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณปัสสาวะให้มากน้อยตามปริมาณน้ำดื่มได้เช่นคนปกติ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะหลังนี้จำเป็นต้องปรับน้ำดื่มให้มากน้อยตามปริมาณปัสสาวะที่ออกได้จริงแทน
ขอเน้นว่าผู้ป่วยที่มีไตวายรุนแรงจะมีปริมาณปัสสาวะไม่สัมพันธ์กับจำนวนน้ำที่ดื่มในแต่ละวัน ผู้ป่วยโรคไตแต่ละรายจึงต้องปรับปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และมีข้อจำกัดในการดื่มน้ำไม่เท่ากันขอให้ยึดหลักง่ายๆ ว่า ถ้ายังปัสสาวะได้มากก็ดื่มน้ำได้มากถ้าปัสสาวะได้น้อยก็ต้องจำกัดน้ำดื่มลงมิฉะนั้นอาจเกิดอาการบวมอย่างรุนแรง หรือเกิดอาการน้ำท่วมปอดได้
                การดูว่ามีปัสสาวะมากหรือน้อยต้องใช้วิธีวัดปริมาตรปัสสาวะ 24 ชั่วโมง แล้วปรับปริมาณน้ำดื่มให้มากน้อยตามกันไป ไม่ควรใช้วิธีนับจำนวนครั้งของการถ่ายปัสสาวะ หรือคะเนเอาเองจากเวลาที่ใช้ถ่ายปัสสาวะ เช่น ถ้าผู้ป่วยบางรายถ่ายปัสสาวะได้รวม 1,000 มิลลิลิตรต่อวัน ก็อนุมานว่าผู้ป่วยควรบริโภคน้ำได้ไม่เกิน 1,000มิลลิลิตรต่อวัน ด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับยาขับปัสสาวะกระตุ้นให้มีปัสสาวะเพิ่มขึ้น ก็อาจดื่มน้ำได้เพิ่มขึ้น แต่ต้องไม่เกินกว่าหลักเกณฑ์ที่กล่าวข้างต้น ผู้ป่วยบางรายถ้ารับประทานยาขับปัสสาวะแล้ว ไม่ได้ปัสสาวะเพิ่มขึ้น ก็ไม่ควรทานยาขับปัสสาวะต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เพราะอาจมีผลเสียต่อร่างกายได้ ควรประเมินหาปริมาณน้ำที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายได้  โดยดูจาการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวถ้าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วภายใน ช่วงเวลาไม่กี่วัน แสดงว่าผู้ป่วยบริโภคน้ำมากไปหรือน้อยไปตามลำดับ ควรค่อยๆปรับปริมาณน้ำให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม โดยพิจารณาการควบุมน้ำ
กับปริมาณปัสสาวะที่ขับออกและค่าน้ำหนักตัวในแต่ละวัน
ตารางเปรียบเทียบการดื่มน้ำของคนปกติและคนป่วยในปริมาณต่อวัน คนปกติ2,000มล.  คนป่วย1,000มล.


จากกราฟจะเห็นได้ว่าการดื่มน้ำของคนปกติจะดื่มได้มากกว่าคนป่วยเพราะคนปกติจะปัสสาวะเป็นปกติส่วนคนป่วยจะปัสสาวะไม่เป็นปกติแล้วแต่โรคและอาการที่เป็น
"ทรัพยากรที่ดิน" เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในการดำรงชีพของมนุษย์ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่ต้องใช้ที่ดินเป็นปัจจัยหลักการเพิ่มขึ้นของประชากร ประกอบกับความต้องการใช้ที่ดิน เพื่อใช้ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจสาขาอื่นก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เช่น การพัฒนาเมือง เขตอุตสาหกรรม เป็นต้น ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้ประโยชน์ที่ดิน คือ การนำพื้นที่เหมาะสมทางการเกษตรมาใช้ในการขยายเมือง การนำพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเกษตรมาใช้ในการเกษตร การใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทำให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเกษตรกร
จากกราฟจะเห็นได้ว้าภาคใต้ดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมมีปัญหามากกว่าภาคอื่นๆ
ชุมชนและประเทศชาติ ปัญหาของทรัพยากรดินและการใช้ที่ดินจึงแยกได้ 2 ประการคือ ปัญหาความเสื่อมโทรมของดินและปัญหาการใช้ที่ดิน
สถานการณ์ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน 
            ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน มีสาเหตุทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและเกิดจากการใช้ที่ดินที่ไม่ถูกต้อง
ตามหลักวิชาการ ตัวอย่างของปัญหา เช่น การชะล้างพังทลายของดิน ดินขาดอินทรีย์ และปัญหาที่เกิดจากสภาพ
ธรรมชาติของดินร่วมกับการกระทำของมนุษย์ เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินอินทรีย์ (พรุ) ดินทรายจัด และดินตื้นพื้น
ที่ดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมของประเทศไทย ได้แก่ การชะล้างพังทลายของดิน 108.87
ล้านไร่ พื้นที่ที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดินมากที่สุดคือ ภาคเหนือ ดินขาดอินทรียวัตถุ 98.70 ล้านไร่ ปัญหา
ดินขาดอินทรียวัตถุประมาณร้อยละ 77 อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทาง
ด้านเกษตรกรรม 209.84 ล้านไร่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนดินเค็มดินกรดและ
ดินค่อนข้างเป็นทราย อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถูกต้องตามศักยภาพ คิด
เป็นพื้นที่ 35.60 ล้านไร่
จากกราฟจะเห็นว่าดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมมากที่สุดคือภาคใต้

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความหมายของ “การพัฒนา” (Development)

ความหมายของ “ชุมชน” (Community) ชุมชนเป็นกลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ   อาจเป็นหมู่บ้าน ละแวก หรือย่าน ที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกัน มีความเชื่อในระบบคุณค่าบางอย่างสอดคล้องกัน มีการติดต่อสื่อสาร มีความเอื้ออาทร มีการจัดการ มีการเรียนรู้และมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน   หรือกลุ่มบุคคลอันเนื่องมา จากการประกอบอาชีพร่วมกัน   หรือ การประกอบกิจกรรมร่วมกัน   หรือ การมีวัฒนธรรม   หรือ ความสนใจร่วมกัน

ความหมายของการพัฒนา” (Development)
 
การพัฒนาคือ การทำให้ดีขึ้น ให้เจริญขึ้น เป็นการเพิ่มคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ   การพัฒนาอาจพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่เดิม หรือ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ก็ได้

ความหมายของการพัฒนาชุมชน” (Community Development) 
การพัฒนาชุมชนเป็นการทำให้กลุ่มคนดีขึ้น เจริญขึ้น ในทุก ๆ ด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ความหมายของ “ชุมชน”

ความหมายของ “ชุมชน” (Community) ชุมชนเป็นกลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ   อาจเป็นหมู่บ้าน ละแวก หรือย่าน ที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกัน มีความเชื่อในระบบคุณค่าบางอย่างสอดคล้องกัน มีการติดต่อสื่อสาร มีความเอื้ออาทร มีการจัดการ มีการเรียนรู้และมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน   หรือกลุ่มบุคคลอันเนื่องมา จากการประกอบอาชีพร่วมกัน   หรือ การประกอบกิจกรรมร่วมกัน   หรือ การมีวัฒนธรรม   หรือ ความสนใจร่วมกัน

ความหมายของการพัฒนา” (Development)
 
การพัฒนาคือ การทำให้ดีขึ้น ให้เจริญขึ้น เป็นการเพิ่มคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ   การพัฒนาอาจพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่เดิม หรือ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ก็ได้